ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์
การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีผ่าตัด
เมื่อไรจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง" สถานการณ์ "โรคอ้วน" ในปัจจุบัน ทำไมต้องรักษา"โรคอ้วน" เกณฑ์ในการผ่าตัด การผ่าตัดโรคอ้วนจะช่วยรักษาอะไรได้บ้าง ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ชนิดของการผ่าตัดโรคอ้วน การเตรียมความพร้อมสำหรับวันผ่าตัด นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยโรคอ้วน คุณจะต้องเจออะไรบ้างระหว่างช่วงนอนโรงพยาบาล คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนที่เข้ารับการดมยาสลบ การฟื้นฟูสภาพที่บ้านภายหลังการผ่าตัด การดำเนินชีวิตภายหลังการผ่าตัด ภาวะน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มภายหลังการผ่าตัด การผ่าตัดกระชับรูปร่างภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน
The Center of Excellence in Metabolic and Bariatric Surgery Songklanagarind Hospital

ทำไมต้องรักษา " โรคอ้วน "

โดย นายแพทย์กำธร ยลสุริยันวงศ์

  จากหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันตรงกันว่า ความอ้วนมีผลเสีย และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับโรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้ จำเป็นต้องให้การรักษาต่อเนื่อง มีผลต่อคุณภาพชีวิตและยังส่งผลให้อายุขัยลดลง โดยพบว่าถ้ามีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 กิโลกรัม/เมตร2 ขึ้นไป (BMI > 40 kg/m2) จะทำให้อายุขัยลดลงหรือเสียชีวิตเร็วขึ้น 8-10 ปี เมื่อเทียบกับคนที่มีน้ำหนักปกติ

  หลักการของการรักษาโรคอ้วน (obesity) มีจุดประสงค์ เพื่อลดน้ำหนักตัวของผู้ป่วย รักษาโรคร่วม (obesity-related co-morbidities) และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อการรักษาโรค ไม่ใช่เพื่อความสวยงามแต่อย่างใด การรักษาโรคอ้วนนั้นประกอบไปด้วย การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย การใช้ยา ร่วมถึงการผ่าตัด โดยต้องอาศัยการร่วมดูแลกันเป็นทีมสหสาขา (multidisciplinary team approach)


เอกสารอ้างอิง
(1) Whitlock G, Lewington S, Sherliker P, et al. Body-mass index and cause-specific mortality in 900,000 adults: collaborative analyses of 57 prospective studies. Lancet 2009;373:1083-96.
(2) มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, และคณะ. การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนใน ประเทศไทย. 2554, โครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ: นนทบุรี.

COEMBS