ช่วงก่อนผ่าตัด
เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ทีมศัลยแพทย์ และพยาบาลจะเข้ามาเตรียมความพร้อมให้คุณก่อนเข้ารับการผ่าตัด
อาจมีอายุรแพทย์เฉพาะทางเข้ามาให้การดูแลในบางรายที่จำเป็น เช่น มีโรคหัวใจ โรคเบาหวาน มีทีมวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลจะมาประเมินความพร้อม
ก่อนการได้รับการดมยาสลบและแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด การงดน้ำและอาหาร การได้รับน้ำเกลือ ยาคลายกังวล ยาลดกรดเคลือบกระเพาะ
ในรายที่จำเป็น พยาบาลจะเข้ามาซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สัญญาณชีพ ตรวจสอบผลเลือดจากห้องปฏิบัติการ
แนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด เช่น การดูแลทำความสะอาดร่างกาย เน้นบริเวณที่ผ่าตัด คือบริเวณหน้าท้องและสะดือ
การประเมินความเจ็บปวดและการได้รับยาบรรเทาปวด การหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ (Deep breathing Exercise)
การบริหารร่างกายโดยการลุกนั่ง ลุกเดินโดยเร็วที่สุด (Early Ambulation) เป็นต้น
ช่วงระหว่างการผ่าตัด
เมื่อผู้ป่วยมาถึงห้องผ่าตัด จะมีการเตรียมเตียงสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนโดยเฉพาะ
ศัลยแพทย์และพยาบาลในห้องผ่าตัดจะจัดท่าที่พร้อมสำหรับการผ่าตัด เตรียมอุปกรณ์ในการผ่าตัด รวมถึงการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย
วิสัญญีแพทย์จะทำการดมยาสลบ ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับตลอดการผ่าตัด และลดปริมาณยาสลบลงเมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง
โดยการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารจะใช้เวลาเฉลี่ย 2 ชม. การผ่าตัดบายพาสจะใช้เวลาเฉลี่ย 3-4 ชั่วโมง
จะมีการแจ้งให้ญาติทราบถึงสถานะการผ่าตัดของผู้ป่วยเป็นระยะๆ บริเวณหน้าห้องผ่าตัด
หลังจากนั้นจะมีการสังเกตอาการหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิดที่ห้องพักฟื้นภายในห้องผ่าตัด ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากอาการคงที่ สัญญาณชีพเป็นปกติ
จะส่งต่อไปดูแลต่อที่หอผู้ป่วย
ช่วงคืนหลังผ่าตัด
เมื่อกลับมาถึงหอผู้ป่วย จะได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยทีมแพทย์และพยาบาล มีการวัดสัญญาณชีพ
และติดเครื่องตรวจการหายใจและระดับออกซิเจนมีการใส่เครื่องบีบขาด้วยลมเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
มีการปรับการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
รวมถึงการตรวจดูปริมาณปัสสาวะที่ออกจากสายสวยปัสสาวะร่วมด้วย
ช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัดภายในโรงพยาบาล
จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัด
โดยการใช้ยาบรรเทาปวดชนิดฉีด มีการปรับท่านอนศีรษะสูง กระตุ้นการหายใจเข้าออกลึกๆ และจำเป็นต้องใส่เครื่องบีบขาด้วยลมทั้งสองข้าง
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่ยังไม่ได้ลุกเดิน เมื่อสามารถลุกเดินเคลื่อนไหวได้ดี พยาบาลจะเอาเครื่องบีบขาออก
แต่ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องลุกเดินอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งการลุกเดินยังช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว ระบบการทำงานของลำไส้จะกลับมาทำงานได้เร็วขึ้น
ในกรณีที่มีสายสวนปัสสาวะ จะถูกเอาออกในวันรุ่งขึ้นหลังผ่าตัด หลังกลับจากห้องผ่าตัดจะต้องงดน้ำาและอาหารไว้ก่อน
และเช้าหลังผ่าตัดวันที่ 1 แพทย์จะมาประเมินอาการ หากไม่มีอาการผิดปกติ แพทย์จะอนุญาต ให้รับประทานอาหารได้ โดยเริ่มจากอาหารเหลวก่อน
แล้วจึงเปลี่ยนเป็นอาหารปั่นของโรงพยาบาลตามลำาดับ เมื่อรับประทานอาหารได้ดีจะยุติการให้น้ำาเกลือ
ช่วงก่อนกลับบ้าน
ระยะนี้ความเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัดจะน้อยลงมาก จะเริ่มรับประทานได้เพิ่มขึ้น
พยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับกรปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน การดูแลแผลผ่าตัด โดยจะปิดเป็นแผ่นฟิล์มกันน้ำ สามารถโดนน้ำได้แต่ต้องระมัดระวัง
หากมีน้ำซึมเข้าไปในแผล หรือมีสิ่งคัดหลังออกมาจากแผลควรเปิดทำแผลที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หากแผลแห้งดี 7 วันหลังผ่าตัด
สามารถเปิดแผลเองได้ ไม่ต้องทำแผล ไม่ต้องตัดไหมเนื่องจากแผลเย็บไหมละลาย (โดยปกติศัลยแพทย์จะนัดตรวจประมาณ1 สัปดาห์หลังผ่าตัด
เพื่อตรวจดูแผลอยู่แล้ว) การสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด เช่น หากแผลมีอาการอักเสบ บวม แดง มีหนองไหล มีไข้สูง ปวดท้องมาก
ท้องโตตึง เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการให้คำแนะนำโดยนักโภชนาการเกี่ยวกับการรับประทานอาหารหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารโดยเฉพาะ
และมีนักกายภาพ-ฟื้นฟูมาให้คำแนะนำร่วมด้วย หากมีข้อสงสัยสามารถถามพยาบาลผู้ดูแลได้ เมื่อกลับไปอยู่บ้านสามารถสอบถามที่คลินิกศัลยกรรม-โรคอ้วน
หรือหอผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษาได้ ยาที่รับกลับไปรับประทานเมื่อกลับไปอยู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นประเภทยาแก้ปวด และวิตามินเสริม
ศัลยแพทย์จะนัดมาติดตามอาการภายหลังการผ่าตัด ดังนี้
ระยะเวลาหลังผ่าตัด | การติดตาม |
---|---|
1 สัปดาห์ | -ตรวจดูแผลผ่าตัด, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ปรึกษาโภชนาการ | |
1 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู | |
3 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด สั่งยา และวิตามิน |
6 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ตรวจ Body composition analysis | |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู | |
9 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด สั่งยา และวิตามิน |
12 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ตรวจ Body composition analysis, Upper GI endoscopy, U/S Hepatobiliary, Bone mineral density | |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู | |
15 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด สั่งยา และวิตามิน |
18 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ตรวจ Body composition analysis | |
-ตรวจการนอนหลับ Polysomnography ในกรณีในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับที่จำเป็นต้องใช้เครื่อง | |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู | |
24 เดือน | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ตรวจ Body composition analysis, Upper GI endoscopy, U/S Hepatobiliary, Bone mineral density | |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู | |
30, 36, 42, 48, 54, 60 เดือน (ทุก 6 เดือน) |
-ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ตรวจ Body composition analysis | |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู | |
ติดตามทุก 1 ปี หลังจาก 5 ปีไปแล้ว | -ติดตามการลดของน้ำหนัก, ติดตามผลเลือด, ภาวะแทรกซ้อน สั่งยา และวิตามิน |
-ตรวจ Body composition analysis | |
-ปรึกษาโภชนาการ และกายภาพบำบัดและฟื้นฟู |