ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์
การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีผ่าตัด
เมื่อไรจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง" สถานการณ์ "โรคอ้วน" ในปัจจุบัน ทำไมต้องรักษา"โรคอ้วน" เกณฑ์ในการผ่าตัด การผ่าตัดโรคอ้วนจะช่วยรักษาอะไรได้บ้าง ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ชนิดของการผ่าตัดโรคอ้วน การเตรียมความพร้อมสำหรับวันผ่าตัด นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยโรคอ้วน คุณจะต้องเจออะไรบ้างระหว่างช่วงนอนโรงพยาบาล คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนที่เข้ารับการดมยาสลบ การฟื้นฟูสภาพที่บ้านภายหลังการผ่าตัด การดำเนินชีวิตภายหลังการผ่าตัด ภาวะน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มภายหลังการผ่าตัด การผ่าตัดกระชับรูปร่างภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน
The Center of Excellence in Metabolic and Bariatric Surgery Songklanagarind Hospital

เมื่อไรจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง"

โดย นายแพทย์กำธร ยลสุริยันวงศ์

น้ำหนักเกิน ไม่เกิน อ้วน ไม่อ้วน
สามารถประเมินได้ง่ายๆ จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI)
หากมีค่า ตั้งแต่ 25 กก./เมตร2 ขึ้นไปตามเกณฑ์สากล นั่นคือ “น้ำหนักเกิน” และตั้งแต่ 30 กก./เมตร2 ขึ้นไป คือ “อ้วน
หรือหากวัดด้วยความยาวเส้นรอบเอว ผู้ชายตั้งแต่ 90 ซม. และผู้หญิงตั้งแต่ 80 ซม. ขึ้นไป จะถือว่ามีภาวะ “อ้วนลงพุง

คำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI)
น้ำหนัก : กิโลกรัม
ส่วนสูง : เซนติเมตร

BMI : 0

เกณฑ์วัดน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index; BMI (กิโลกรัม/เมตร2)
เกณฑ์สากลเกณฑ์สำหรับคนเอเชีย
น้ำหนักเหมาะสม18.5 - 24.9 18.5 - 22.9
น้ำหนักเกิน25.0 - 29.9 23.0 - 24.9
อ้วนระดับ 130.0 - 34.9 25.0 - 29.9
อ้วนระดับ 235.0 - 39.9 ≥30.0
อ้วนระดับ 3≥40.0

เกณฑ์วัดเส้นรอบเอว เส้นรอบเอว (เซนติเมตร)
เกณฑ์สากลเกณฑ์สำหรับคนเอเชีย
อ้วนลงพุง (ชาย)≥102 ≥90
อ้วนลงพุง (หญิง)≥88 ≥80

เอกสารอ้างอิง
(1) WHO expert Consultation Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet. 2004;363:157-63.
(2) World Health Organization Regional Office for the Western Pacific; International Diabetes Institute; International Association for the Study of Obesity; International Obesity Task Force. The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment. Melbourne: Health Communications Australia; 2000.


COEMBS