ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีผ่าตัด
เมื่อไรจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง" สถานการณ์ "โรคอ้วน" ในปัจจุบัน ทำไมต้องรักษา"โรคอ้วน" เกณฑ์ในการผ่าตัด การผ่าตัดโรคอ้วนจะช่วยรักษาอะไรได้บ้าง ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ชนิดของการผ่าตัดโรคอ้วน การเตรียมความพร้อมสำหรับวันผ่าตัด นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยโรคอ้วน คุณจะต้องเจออะไรบ้างระหว่างช่วงนอนโรงพยาบาล คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนที่เข้ารับการดมยาสลบ การฟื้นฟูสภาพที่บ้านภายหลังการผ่าตัด การดำเนินชีวิตภายหลังการผ่าตัด ภาวะน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มภายหลังการผ่าตัด การผ่าตัดกระชับรูปร่างภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน
The Center of Excellence in Metabolic and Bariatric Surgery Songklanagarind Hospital

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
( Risks & Complications )

โดย นายแพทย์กำธร ยลสุริยันวงศ์

   การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนนั้นมีความเสี่ยงต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดชนิดอื่นๆ เช่น การผ่าตัดโรคหัวใจ หรือการผ่าตัดโรคมะเร็ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่า โดยอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน หลังผ่าตัดโรคอ้วนนั้น (mortality < 30 days) มีเพียงร้อยละ 0.08 และอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่า 30 วันหลังผ่าตัด (mortality > 30 days) มีร้อยละ 0.3 ซึ่งถือว่าต่ำมากกว่า(1) ซึ่งความเสี่ยงเทียบได้กับ การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยซ้ำ

  ภาวะแทรกซ้อนโดยรวมเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 17 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรงมาก เช่น ภาวะคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องกลับมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (30-day Readmission) น้อยกว่าร้อยละ 6.5 และโอกาสเกิดการรั่วของรอยตัดต่อ น้อยกว่าร้อยละ 1 เท่านั้นจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหรือที่รุนแรงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก อย่างไรก็ตามทุกๆ การรักษาด้วยการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยง และไม่ได้ปลอดภัย 100%

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
 • การรั่วของรอยตัดต่อ
 • การตีบตันของรอยตัดต่อ
 • ภาวะเลือดออกบริเวณรอยตัดต่อ และบริเวณแผลผ่าตัด
 • การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อในปอด แผลผ่าตัดติดเชื้อหรือการติดเชื้อในช่องท้อง
 • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขา หรือที่ปอด
 • ปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ
 • ไส้เลื่อนจากแผลผ่าตัด (incisional hernia) หรือไส้เลื่อนภายในช่องท้อง (internal hernia)
 • แผลที่รอยต่อกระเพาะอาหาร (marginal ulcer)
 • ภาวะขาดสารอาหารและวิตามิน
 • ภยันตรายต่อม้ามระหว่างการผ่าตัด จนต้องตัดม้ามออก
 • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (post bypass hypoglycemia)



เอกสารอ้างอิง
(1) Chang S, Stoll CT, Song J, et al. The Effectiveness and Risks Bariatric Surgery: An Updated Systematic Review and Meta-analy 2003-2012. JAMA Surg. 2013.
(2) Nguyen NT, Nguyen B, Shih A, et al. Use of laparoscopy in gene surgical operations at academic centers. Surg Obes Relat Dis. 20 9(1):15-20.
(3) Siregar S, Groenwold RH, de Mol BA, et al. Evaluation of cardiac surg mortality rates: 30-day mortality or longer follow-up? Eur J Cardiotho Surg 2013;44(5):875-83.
(4) National Center for Health Statistics; National Safety Council. http www.nsc.org/act/events/Pages/Odds-of-Dying-2015.aspx
(5) Hutter MM, Schirmer BD, Jones DB, et al. First Report from the Americ College of Surgeons -- Bariatric Surgery Center Network: Laparosco Sleeve Gastrectomy has Morbidity and Effectiveness Positioned Betwe the Band and the Bypass. Annals of Surgery 2011;254(3):410-22.

COEMBS