จากหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันตรงกันว่า ความอ้วนมีผลเสีย และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับโรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้ จำเป็นต้องให้การรักษาต่อเนื่อง มีผลต่อคุณภาพชีวิตและยังส่งผลให้อายุขัยลดลง โดยพบว่าถ้ามีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 กิโลกรัม/เมตร2 ขึ้นไป (BMI > 40 kg/m2) จะทำให้อายุขัยลดลงหรือเสียชีวิตเร็วขึ้น 8-10 ปี เมื่อเทียบกับคนที่มีน้ำหนักปกติ
หลักการของการรักษาโรคอ้วน (obesity) มีจุดประสงค์ เพื่อลดน้ำหนักตัวของผู้ป่วย รักษาโรคร่วม (obesity-related co-morbidities) และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อการรักษาโรค ไม่ใช่เพื่อความสวยงามแต่อย่างใด การรักษาโรคอ้วนนั้นประกอบไปด้วย การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย การใช้ยา ร่วมถึงการผ่าตัด โดยต้องอาศัยการร่วมดูแลกันเป็นทีมสหสาขา (multidisciplinary team approach)
เอกสารอ้างอิง
(1) Whitlock G, Lewington S, Sherliker P, et al. Body-mass index and
cause-specific mortality in 900,000 adults: collaborative analyses of 57
prospective studies. Lancet 2009;373:1083-96.
(2) มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, และคณะ. การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนใน ประเทศไทย. 2554,
โครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ: นนทบุรี.