ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีผ่าตัด
เมื่อไรจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง" สถานการณ์ "โรคอ้วน" ในปัจจุบัน ทำไมต้องรักษา"โรคอ้วน" เกณฑ์ในการผ่าตัด การผ่าตัดโรคอ้วนจะช่วยรักษาอะไรได้บ้าง ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ชนิดของการผ่าตัดโรคอ้วน การเตรียมความพร้อมสำหรับวันผ่าตัด นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยโรคอ้วน คุณจะต้องเจออะไรบ้างระหว่างช่วงนอนโรงพยาบาล คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนที่เข้ารับการดมยาสลบ การฟื้นฟูสภาพที่บ้านภายหลังการผ่าตัด การดำเนินชีวิตภายหลังการผ่าตัด ภาวะน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มภายหลังการผ่าตัด การผ่าตัดกระชับรูปร่างภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน
The Center of Excellence in Metabolic and Bariatric Surgery Songklanagarind Hospital

การผ่าตัดโรคอ้วนจะช่วยรักษาอะไรได้บ้าง ?

โดย นายแพทย์กำธร ยลสุริยันวงศ์

1. น้ำหนักตัวลดลง (Weight loss)
  เป้าหมายหลักนั้นเพื่อที่จะลดน้ำหนักให้กลับมาสู่ระดับปกติ หรือ ที่ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 กิโลกรัม/เมตร2 (BMI < 25 kg/m2) น้ำหนักจะลดลงมากน้อยเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด (Type of bariatric surgery) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยเป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วค่าน้ำหนักตัวที่ลดลงจะคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัวที่ลดลง (Percentage of total weight lost; %TWL) หรือ คิดเป็นร้อยละที่ลดลงของน้ำหนักส่วนที่เกินจากน้ำหนักที่ควรจะเป็น (Percentage of excess weight lost; %EWL)
  โดยทั่วไป การผ่าตัดสามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 15 - 35 (%TWL) หรือน้ำหนักส่วนเกินจากน้ำหนักที่ควรจะเป็นลดลง เฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 - 75 (%EWL)

2. สุขภาพดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ (Physical & Mental Health Improvement)
  ภายหลังการรักษาโดยการผ่าตัด นอกจากสามารถลดน้ำหนักตัวลงแล้ว ยังทำให้โรคร่วมที่เกิดจากความอ้วน ดีขึ้นหรือหายขาดได้อีกด้วย และที่สำคัญคือ อายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

 อัตราการหายของโรคร่วมภายหลังการผ่าตัด


เอกสารอ้างอิง
(1) Sjöström L. Review of the key results from the Swedish Obese Subjects (SOS) trial—a prospective controlled intervention study of bariatric surgery. J Intern Med 2013;273(3):219-34.
(2) Buchwald H, Estok R, Fahrbach K, et al. Weight and type 2 diabetes after bariatric surgery: systematic review and meta-analysis. Am J Med 2009;122(3):248-56.
(3) Brethauer SA, Chand B, Schauer PR. Risks and benefits of bariatric surgery: current evidence. Cleve Clin J Med 2006;73(11):993-1007.

COEMBS