ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
การรักษาโรคอ้วนโดยวิธีผ่าตัด
เมื่อไรจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง" สถานการณ์ "โรคอ้วน" ในปัจจุบัน ทำไมต้องรักษา"โรคอ้วน" เกณฑ์ในการผ่าตัด การผ่าตัดโรคอ้วนจะช่วยรักษาอะไรได้บ้าง ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ชนิดของการผ่าตัดโรคอ้วน การเตรียมความพร้อมสำหรับวันผ่าตัด นอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยโรคอ้วน คุณจะต้องเจออะไรบ้างระหว่างช่วงนอนโรงพยาบาล คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนที่เข้ารับการดมยาสลบ การฟื้นฟูสภาพที่บ้านภายหลังการผ่าตัด การดำเนินชีวิตภายหลังการผ่าตัด ภาวะน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มภายหลังการผ่าตัด การผ่าตัดกระชับรูปร่างภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน
The Center of Excellence in Metabolic and Bariatric Surgery Songklanagarind Hospital

เกณฑ์ในการผ่าตัด

โดย นายแพทย์กำธร ยลสุริยันวงศ์

  สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institutes of Health; NIH) ได้กำหนดข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนขึ้น โดยการผ่าตัดเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI)> 40 kg/m2 หรือ ผู้ป่วยที่ BMI 35 - 40 kg/m2 และมีโรคร่วมที่สำคัญอย่างน้อย 1 อย่าง
  ในปัจจุบันคนเอเชียมีความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง และความเสี่ยงของการเสียชีวิตสูง ในกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า เมื่อเทียบกับคนยุโรปและอเมริกา จึงมีการเริ่มให้การรักษาที่เกณฑ์ดัชนีมวลกายต่ำกว่า โดยข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดของคนเอเชีย มีดังนี้
 1. ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 37.5 kg/m2 ขึ้นไป
 2. ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 32.5 kg/m2 ขึ้นไป ร่วมกับมีโรคร่วมที่เกิดจากภาวะอ้วน
 3. ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 27.5 kg/m2 ขึ้นไป ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) ที่ให้การรักษาด้วยยาทั้งยารับประทานและยาฉีด (Insulin) แล้วยัง ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี (Poor glycemic control) หรือ โรคกลุ่ม Metabolic syndrome ที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
 4. ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีคุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต อย่างน้อย 3 - 6 เดือนแล้วยังไม่ได้ผล
 5. ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติ และให้ความร่วมมือในการรักษาได้

 โรคร่วมที่สำคัญ (Significant Comorbidities)


เอกสารอ้างอิง
(1) NIH conference. Gastrointestinal surgery for severe obesity. Consensus Development Conference Panel. Ann Intern Med 1991;115(12):956-61.
(2) Mechanick JI, Youdim A, Jones DB, et al. Clinical practice for the perioperative nutritional, metabolic, and nonsurgical support of the bariatric surgery patient--2013 update: cosponsored by American Association of Clinical Endocrinologists, the Obesity Society, and American Society for Metabolic & Bariatric Surgery. Endocr Pract 2013;19(2):337-72.
(3) Rubino F, Nathan DM, Eckel RH, et al. Metabolic Surgery in the Treatment Algorithm for Type 2 Diabetes: A Joint Statement by International Diabetes Organizations. Diabetes Care 2016;39(6):861-77.

COEMBS