ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
หน้าแรก ข่าวประชาสัมพันธ์ สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ

ต่อมหมวกไตอ่อนล้า (Adrenal Fatigue)

  ต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนต่างๆที่ทำให้เราต่อสู้กับสิ่งต่างๆ เช่น ภาวะความเครียด ความเหนื่อยล้า ฮอร์โมนที่ทำสร้างการเผาผลาญสร้างพลังงานให้ร่างกาย ดังนั้น ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ทำให้การดำรงชีวิตอยู่ตื่นขึ้นมาและทำงานได้ ต ่อมหมวกไตยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนความเป็นหนุ่มเป็นสาว

  ภาวะต่อมหมวกไตล้า คือภาวะที่ต่อมหมวกไตมีการทำงานลดลง แต่ไม่ถึงขั้นป่วยเป็นโรคพร่องต่อมหมวกไต ซึ่งโรคนี้เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อ ภาวะต่อมหมวกไตล้าเป็นภาวะที่ฮอร์โมนลดลง ส่งผลกระทบถึงการทำงานทนต่อความเครียดไม่ได้ ทนต่อสิ่งกระตุ้นไม่ค่อยคนที่เป็นภาวะต่อมหมวกไตล้า ที่พบได้บ่อยคือคนที่อยู่ในวัยทำงาน ประมาณ 80 – 90%

  อาการแรกเลยคือไม่อยากตื่นนอนในช่วงเช้า พอตื่นแล้วอาบน้ำแล้วสมองจะไม่ทำงานจนกระทั่ง 10 โมงเช้า ไม่สดชื่น ต้องทำงานตามคำสั่ง การตัดสินใจช้าลง พอเริ่ม 10 โมงจะเริ่มสตาร์ทเครื่องพอจะทำงานได้ สมองสั่งการได้ดี ก็จะมีช่วงที่สะดุดในช่วงเที่ยง ถ้าไม่ได้ทานอาหารก็จะเริ่มล้า พอทานอาหารเข้าไปจะง่วงนอนในช่วงบ่าย

การปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิต หรือ Lifestyle Modification ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา Adrenal Fatigue Syndrome (AFS)

1. การกินอาหาร -ไม่ควรอดอาหารมื้อเช้า เพราะเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด ควรกินโปรตีนให้เพียงพอ เลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต และ ธัญพืช -ทานหวานน้อย ๆ งดน้ำตาลได้เลยจะดี - ควรทานผลไม้ 2 – 3 ขีดต่อวัน อาทิ มะม่วงสุก มะละกอ แอบเปิ้ล และผักที่มีสีสันเพื่อให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ - ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000 ซีซี/วัน - ลองงดหรือลด กาแฟหรือชาเย็น(ยกเว้นกาแฟดำ) คาเฟอีนช่วยกระตุ้นต่อมหมวกไตในการตื่นตัว แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคต่อมหมวกไตล้า จะตอบสนองคาเฟอีนน้อยมากและทำให้ เราได้รับน้ำตาลเพิ่ม - ให้จำว่าชนิดอาหารใดบ้างที่ทำให้ ย่อยยาก ท้องอืด และควรใช้อาหารที่มีโปรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์จากโยเกิร์ต ช่วยในการย่อย - การกินอาหารถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ 4- 6 มื้อ

2. เรื่องนอนเรื่องใหญ่ การนอนหลับให้สนิท 7 – 8 ชม./วันเป็นเรื่องสำคัญ และควรฝึกให้นอนเป็นเวลา การฝึกเช่นนี้ประมาณหนึ่งเดือนร่างกายจะค่อยเริ่มปรับให้ง่วงตามเวลาได้

3. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่หนักและนานเกินไป เช่น แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล หรือแบบคาร์ดิโอหนักๆ จะยิ่งเพิ่มความเครียด( Strees) เป็นปฎิกิริยาร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อถูกกระตุ้น การออกกำลังควรเลือกแบบเวทเทรนนิ่ง และผ่อนคลายเพิ่มขึ้น เช่น โยคะ ไท้เก็ก หรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

4. การพักระหว่างวัน ควรจัดสรรเวลาว่างระหว่างวัน 5 – 10 นาที อาทิ หลังทานอาหารเที่ยง ควรจะออกไปเดินเล่น ผ่อนคลาย หรือนั่งหลับตาเบา ไม่ควรนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หลังทานอาหาร

5. ลดความเครียด เป็นการปรับสภาพจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เร่งเร้าตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพในทุกเรื่อง คิดบวกให้พอดีและเหมาะสม ไม่โลกสวยเกิน

COEMBS