เชื่อว่าช่วงของการ Work from home อย่างนี้ทุกคนคงเจอกับปัญหานี้อยู่ กักตัวทำงานที่บ้าน ตุนอาหารไว้เพียบ อีกทั้งมีอาหาร delivery อำนวยความสะดวก เมื่อกินอิ่มแล้วก็ง่วง หมดกะจิตกะใจในการทำงาน เชื่องช้า และง่วงซึม จริงๆ แล้วอาการเหล่านี้ คืออาการของ “Food Coma” !!!
Food Coma คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร???
Food Coma หรือทางการแพทย์เรียกว่า Postprandial Somnolence เป็นอาการง่วง ที่เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต)
มากจนเกินไป โดยเฉพาะแป้งย่อยยาก อาทิเช่น ขนมหรืออาหารที่เป็นแป้งทอด หรือขนม ของหวานที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ส่งผลให้มีอาการง่วงหงาวหาวนอน
ส่งผลให้ไม่สามารทำงานได้อย่างเต็มที่ รวมถึงทให้เกิดอาการแน่นท้อง อืดท้อง และที่อันตรายที่สุด คือส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนลงพุงได้
หลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก ร่างกายของคนเราจะมีกลไกสั่งให้ร่างกายใช้พลังงานไปกับการน่อยอาหารที่เพิ่งกินมามากขึ้น ส่งผลลดพลังงานที่จะไปเลี้ยงร่างกายในส่วนอื่นๆ ลง ทำให้ร่างกายอยากจะพักผ่อน ไม่มีแรง และนอกจากนี้หลังจากที่เรารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ร่างกายจะหลั่งอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ซึ่งกระบวนการนี้จะส่งผลให้สมองหลั่งสารแห่งการนอนหลับออกมากมากขึ้น คือ “เซโรโทนิน” และ “เมลาโทนิน” จึงทำให้เรารู้สึกง่วงนอนแม้จะเป็นช่วงกลางวันก็ตาม
วิธีแก้ไขอาการ Food Coma
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก เช่น อาหารบุฟเฟต์ อาหารฟาสต์ฟู้ด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกแป้งย่อยยาก อาทิเช่น ขนม/อาหารประเภทแป้งทอด ของหวานต่างๆ
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้าๆ กินอาหารพอดีคำ ลดความเร็วในการกินอาหารลง เพื่อให้กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักในการย่อยอาหาร
- เลือกผลไม้หวานน้อยแทนของหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
- ทำกิจกรรมเบาๆ หลังรับประทานอาหาร 10-15 นาที หลังรับประทาอาหารควรหากิจกรรมอื่นๆ ทำก่อนที่เริ่มจะทำงาน เช่น เดินเล่นแกว่งแขน เดินขึ้นลงบันได
หรือกิจกรรมที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า